วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Water Compatible


..............สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านครับ พบกันอีกแล้ว กับบทความโม มันส์ๆ ขำๆ อีกแล้ว….(ขำไม่ค่อยออกเพราะสอบไฟนอลไม่ค่อยได้อ่ะ -_-" ) วันนี้จะมานำเสนอการนำอุปกรณ์ระบายความร้อนของคอมพิวเตอร์ด้วยน้ำมาดัดแปลงให้ มีความปลอดภัยและสะดวกต่อการใช้งานครับ ปลอดภัยและสะดวกยังไง? ปลอดภัยเพราะเป็นชุดระบายความร้อนด้วยน้ำที่ถูกติดตั้งอยู่นอกเคส และสามารถหิ้วเจ้าWater Compatibleนี้ไปไหนมาไหนได้อย่างง่ายดาย เริ่มกันเลยครับ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบ Water Compatibleจะมีอุปกรณ์หลักดังนี้

1.ถังพักน้ำสำหรับระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ

2.ปั้มน้ำ 220AC. ที่ถูกดัดแปลงไว้ใช้กับคอมพิวเตอร์

3.แผ่นรองเขียนอะคลีหลิกขนาด A4.

4.หม้อน้ำสำหรับระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ


ขั้นตอนแรกก็ทำการนำแผ่นรองเขียนมาแกะที่หนีบกระดาษออกเลยนะครับ โดยใช้ดอกสว่นเจาะหัวรีเวทแล้วก็แกะที่หนีบกระดาษออกมาดังภาพเลยครับ


หลังจากนั้นก็ลองนำอุปกรณ์ต่างมาลองวางLAYOUT คร่าวๆในการว่างตำแหน่งของอุปกรณ์แต่ละตัว ว่ามีตำแหหน่งในการว่างที่เหมาะสมหรือไม่


ใช้ไขควงทำการมาร์คตำแหน่งของรู เพื่อที่จะใช้สว่านเจาะในการยึน๊อตระหว่างกระปุกพักน้ำกับแผ่นรองเขียน


ใช้สว่านขนาด 2 มม.เจาะลงไปที่แผ่นรองเขียนตามตำแหน่งที่กำหนดเอาไว้


ทำการขันน๊อตยึดระหว่างถังพักน้ำกับแผ่นรองเขียน


ขั้นตอนต่อมาให้ใช้พัดลมเก่าๆขนาด 80 มม. จำนวน2ตัวมาตัดเอาแกนใบพัดออกเพื่อใช้เป็นบูต ยกหม้อน้ำให้สูงขึ้นจากฐาน


เมื่อตัดแกนของใบพัดออกแล้ก็จะมีรูปร่างแบบนี้ครับ


ทำการติดตั้งพัดลมให้หม้อน้ำด้วยนะครับ


สังเกตที่รูน้ำของหม้อน้ำนะครับใหญ่มากๆเพราะใช้เสียบสายยาง 12มม.หมดปัญหาการอั้นน้ำทันที


จัดวางLAY OUTของอุปกรณ์อีกที


ทำการพลิกไปที่ด้าหลังของแผ่นรองเขียนแล้วใช้คัตเตอร์ขีดอะคลีหลิกให้เป็นช่องที่พอดีกับพัดลม 80 มม. เพื่อเป็นช่องระบายลมร้อนให้กับหม้อน้ำ


จากนั้นก็ใช่เลื่อยฉลุ เลื่อยอะคลีหลิกตามเส้นที่เราขีดเอาไว้ ทำ2ช่องนะครับเพราะพัดลมเรามี2ตัว ตอนนี้เราก็จะได้ช่องระบายลมร้อนแล้ว


อุปกรณ์ชิ้นต่อมาคือ บู๊ตรองของเครื่องขยาย ซึ่งมีขายตามบ้านหม้อ หรือร้านขายอุปกรณ์เครื่องเสียงทั่วๆไปครับ


นำมาติดตั้งเข้ากับชุดน้ำสุดหรูของเรา เพื่อเพิ่มความไฮโซ ขึ้นไปอีก ไฮโซ จริงๆ สนิมเต็มเลย….. อิอิ


และก็ทำการติดหลอด LED สีฟ้าเพื่อเพิ่มความสวยงาม และหลอดสีฟ้านี้ก็มีแสงที่เป็นแสง UVผสมอยู่ด้วยนะครับ ดังนั้นจึงทำให้อุปกรณ์ที่เป็นประเภท UV SENSITIVE ก็จะเรืองแสงออกมาได้ครับ


เพื่อความสะดวกในการใช้งานเจ้า Water Compatible นี้ ผมจึงได้ใส่หูหิ้วลงไปด้วย หูหิ้วนี้หาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้างทั่วๆไปครับ ขนาดความยาว4นิ้ว


ใช้สว่านเจาะรูลงไปที่ฐาน จำนวน2รู แล้วก็ขันน๊อตให้แน่นเมื่อติดเสร็จแล้วก็จะมีลักษณะดังภาพครับ


และอีกครั้งที่ยังรักษา คอนเซ็ป ชุดน้ำไฮโซ(บ้านนอก) โดยจะติดตั้งโทโมมิเตอร์เพื่อใช้วัดอุณหภูมิของลมร้อนที่ออกจากหม้อน้ำด้วย เพื่อเช็คว่าหม้อน้ำนั้นระบายความร้อนได้ดีเพียงใด


ทำการเสียบสายยางขนาด 12 มม. ระหว่างปั้มน้ำกับหม้อน้ำ อึ๊บๆ


ใกล้จบแล้วคร๊าบบ เพ่ อ่านมาถึงช่วงนี้หลายคนคงหนีไปซดมาม่าแล้วครับ -_-"


อุปกรณ์ชิ้นต่อมาก็คือ Water Block หน้าตาแปลกๆ อ้วนๆ แดงๆ ชอบกลแถมยังมีสายไฟอีก คอยพบกับเฉลยที่บทความครั้งต่อไปนะครับว่าเอาไว้ทำไร อิอิ….




ขั้นตอนสุดท้ายก็คือการใส่น้ำให้กับระบบระบายความร้อน Water Compatible นี้ครับ โดยน้ำที่ใช้จะเป็นน้ำกลั่นเนื่องจากน้ำกลั่นเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ ไม่ทำให้เกิดตะกันในหม้อน้ำ แล้วก็ใส่น้ำยาหล่อเย็นเพื่อทำให้น้ำเป็นสีเขียว เมื่อโดนแสงจากหลอก UVแล้วก็จะเรืองแสงออกมาครับ


เมื่อ Water Compatible เริ่มปฏิบัติการ ครึกๆๆๆ


น้ำกลั่นที่มีคูลแลนท์เป็นส่วนผสม เมื่อกระทบกับแสง UVก็จะเกิดการเรืองแสงขึ้นมาครับ แนว ได้ใจจริงๆครับ

Conclusion
..............จบลงไปด้วยดีนะครับสำหรับบทความนี้ ก็เป็นการนำอุปกรณ์เก่าๆอย่าแผ่นรองเขียนกระดาษมาดัดแปลงเป็น Water Compatible สุดหรู "ของบางอย่างมีเงินมีทองก็หาซื้อไม่ได้นะครับ แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้จากสองมือนี่แหละครับ" เชื่อว่าหลายท่านนั้นมีความสามารถในการModding อยู่ในตัวครับอย่าเก็บมันไว้ปลุกมันขึ้นมาครับ สู้ๆ…….
ส่วนการทดสอบนั้นขอเป็นครั้งหน้านะครับเพราะต้องรอเจ้า ดัดแปลงชุด Water Blockหน้าตาแปลกๆให้ใช้กับ Socket 939ให้ได้ก่อน วันนี้ก็ขอจบบทความไว้เพียงเท่านี้พบกันใหม่ครั้งหน้า สวัสดีครับ -/\-

By www.overclockzone.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น